วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

IT Learning Journal Report (February2, 2011) # 11

Business Intelligence (ต่อ)
Mining
เป็นการค้นหาสิ่งที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำมาปฏิบัติได้ ทำได้จริง เป็นการกรองข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมากออกมาเป็นข้อมูลที่มีความจำเป็น/ มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งผลลัพธ์ของข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์หรือไม่ขึ้นอยู่กับ 1. Technology โดยถ้าข้อมูลเป็นโครงสร้างจะทำ Data Mining แต่ถ้าข้อมูลไม่เป็นโครงสร้างจะทำ Text Mining 2. ผู้ใช้ โดยดูความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลของผู้บริหาร

Web Mining
                เป็นการทำ Text Mining ที่เป็นกรณีพิเศษ คือทำทางหน้า Website เพื่อที่จะมองหาพฤติกรรมผู้ใช้เวป เพื่อที่จะนำไปค้นหา/วิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งานหน้าเวปไซต์ที่เป็นประโยชน์ต่อไป เช่น ผู้ใช้เวปมีความสนใจด้านใด มีระยะเวลาการใช้งานนานแค่ไหน โดยดูตามการใช้ Click Street (รอยมือ) หรือกระแสของการ Click แล้วระบบก็จะพยายามค้นหาความสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อนำไปเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานเฉพาะรายต่อไป อย่างไรก็ตามต้องระวังเรื่อง สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ในการทำ Web Mining ด้วย ซึ่ง Web Mining ทำได้ 3 รูปแบบ คือ
-                   Web content mining เป็นการดูว่าผู้ใช้งาน web เค้าดู content อะไรใน web บ้าง
-                   Web structure mining ดูทางด้านโครงสร้าง เช่น ดูว่า URL ของเวปมันมีประโยชน์ไหม หรือว่าผู้ใช้เค้าเข้ามาทาง link จาก Web อื่นๆเสมอ ถ้าเข้ามาทาง link อื่นๆเป็นส่วนมาก องค์กรก็ควรทำประกาศให้คนจำ URL ได้มากขึ้น หรือทำ link ให้มากขึ้น
-                   Web usage mining เป็นการดูจาก Click Street  ดูการใช้งาน web ของผู้ใช้ ว่าเข้ามาทำอะไรบ้าง, ใช้เวลากี่นาที ซึ่งจะทำให้รู้พฤติกรรมของลูกค้า เช่น web ขายของ

Strategic Information System Planning (ต่อ)

Strategic Information System Planning 
                เป็นการวางแผนการใช้ระบบสารสนเทศ (IS) ว่าองค์กรควรมีระบบสารสนเทศใดบ้าง ต้องมีการเก็บข้อมูลใดบ้าง และวางแผนการใช้ระบบให้มีประสิทธิภาพ (efficient) และมีความคุ้มค่า ซึ่งหากองค์กรใดไม่มีการวางแผนที่ดีแล้ว อาจทำให้ไม่มีระบบสารสนเทศที่รองรับการดำเนินงานขององค์กรได้ โดยในกระบวนการวางแผนบุคลากรทุกๆคน ทุกๆฝ่ายควรร่วมมือกัน ซึ่งหัวใจสำคัญของการวางแผน ไม่ใช้ที่ตัวแผน แต่คือ กระบวนการ
IS/IT Planning
                เป็นการวางแผนในระดับองค์กรว่าองค์กรควรจะมีระบบสารสนเทศใดบ้าง อย่างไร และเมื่อไร เพื่อรองรับการทำงานขององค์กร ซึ่งหมายรวมถึง IT infrastructure และ Applications portfolios สำหรับการทำงานในทุกระดับขององค์กร โดยแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศนี้มีเพื่อช่วยองค์กรในการทำงานให้บรรลุ Objective ที่ตั้งเป้าไว้ โดยมี IS/IT มาช่วยในการทำงาน
Four-stage model of IS/IT Planning
1.    Strategic IT planning: กำหนดกลยุทธ์ของแผนสารสนเทศ โดยมีการดูความสัมพันธ์ระหว่างแผนสารสนเทศกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร โดยมีขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้
-      Set  IS mission ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าองค์กรมองการใช้ระบบในองค์กรอย่างไร 1. มองเป็นกลยุทธ์ เช่น ธนาคาร 2. มองเป็นตัวเสริมกลยุทธ์ คือ มองว่า IS เป็นเครื่องมือในการทำให้ไปถึงกลยุทธ์นั้นได้
-      Access environment เป็นการประเมินสภาพแวดล้อม (ดูสภาพการณ์) ในปัจจุบัน เช่น ดูความสามารถของ IS ในปัจจุบันขององค์กรว่าทำงานอะไรได้บ้าง อยู่ในระดับไหน, ดูว่ามีโอกาสหรือเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆหรือไม่, ภาพลักษณ์ของ IS ขององค์กรในปัจจุบัน, ประเมินทักษะการใช้ IS ของบุคคลากร เป็นต้น
-      Access organizational objectives strategies ประเมิน Objective และ Strategy ขององค์กร ทบทวนแผนกลยุทธ์ขององค์กรว่ามี Vision, Mission, Obj., Goal อะไร ยัง Work ไหม ถ้าไม่ต้องมีการปรับใหม่ไหม และดูว่าระบบสารสนเทศ (IS) ที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถตอบสนองกลยุทธ์ขององค์กรได้ดีแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่เราจำเป็นต้องมี IS อะไรในอนาคต (Purposed IS)
-      Set  IS policies, objectives. Strategies ดูว่าองค์กรให้ความสำคัญกับ IS แค่ไหน โดยอาจดูจากแผนผังองค์กรก็ได้ โดยถ้ามีการแยกฝ่าย IS ออกมาต่างหากแสดงว่าองค์กรให้ความสำคัญกับ IS
2.     Information requirements analysis: พิจารณากลยุทธ์ขององค์กรว่า กลยุทธ์นั้นๆจะบรรลุได้ต้องใช้สารสนเทศอะไรบ้างช่วยในการดำเนินงาน โดยเป็นการหา Requirement ขององค์กรในภาพรวม ว่าต้องการสารสนเทศอะไรบ้าง โดยมีขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้
-     Access organization’s information requirements วิเคราะห์ความต้องการ ดูว่าต้องใช้ IS ออะไรบ้างในการตอบสนองแต่ละกลยุทธ์ โดยเข้าไปประเมินโดยอาจเป็นการสังเกตการณ์, การสัมภาษณ์, การ Review ระบ โดยแบ่งเป็น 1. Current need ดูว่าปัจจุบันต้องการระบบอะไรบ้าง 2. Projected need ดูความต้องการในอนาคต โดยดูว่าจำเป็นต้องมีระบบใดบ้าง กี่ระบบ
-      Assemble master development plan มีการจัดทำและพัฒนาแผนงาน โดยแผนสารสนเทศจะประมาณ 3-5 ปี มีการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานว่าอันไหนควรจะทำก่อน อันไหนควรจะทำหลัง เป็นต้น
3.     Resource allocation: เป็นการประเมินทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศที่เสนอมาใน 2 ขั้นแรก
-      Develop resource requirements plan ดูว่าจะต้องเตรียมทรัพยากรใดบ้างในการทำระบบตามแผนงาน เช่น Hardware, Software, บุคลากร, งบประมาณ, สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
4.     Project planning: Evaluate project and develop project plans เป็นการประเมินความคุ้มค่าของ Project ว่าเงินทุนพอไหม, คุ้มค่าที่จะทำไหม ถ้าไม่คุ้มค่าก็อาจต้องมีการปรับแผนใหม่ในขั้น 1-3 ถ้าคุ้มค่าก็จะทำ Project Management ต่อไป ได้แก่ Task identification, Cost estimates, Time estimates, Checkpoint, Completion dates
Strategic Information Technology Planning - Methodologies
                นอกจากวิธี Four-stage model of IS/IT Planning ยังมีวิธีอื่นๆอีก ที่สำคัญได้แก่ BSP, CSFS ดังนี้
The business systems planning (BSP) model
                เป็น model ที่พัฒนาโดย IBM โดยหลักการแล้วไม่ต่างจากวิธี Four-stage model of IS/IT Planning แต่แตกต่างกันที่รายละเอียดปลีกย่อย สำหรับโมเดลนี้มีการทำทั้ง Top-down และ Bottom-up สำหรับหลักของโมเดลนี้คือ ระบุ Business processes เพื่อหา Data Classed โดย
                Business processes คือ กิจกรรมที่องค์กรต้องทำในการประกอบกิจการนั้นๆขององค์กร โดยหากระบวนการการทำงาน (process) เพื่อที่จะได้รู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง และต้องการใช้ข้อมูล/สารสนเทศใดบ้าง ซึ่งก็คือสามารถระบุ Data Classes ได้นั้นเอง
                ข้อดี ของโมเดลนี้คือ เห็นภาพชัด งานมีขั้นมีตอน เหมาะกับองค์กรที่ไม่ได้มีการวางแผนมาก่อนหรือแผนไม่เป็นระเบียบ ข้อเสีย คือ ใช้เวลาเยอะในการทำแผน, มีข้อมูลมหาศาลในการวิเคราะห์, มักมุ่งมองแต่ในปัจจุบัน จนอาจละเลยอนาคต
Critical success factors (CSFs)
                เป็นการเตรียมระบบ, พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหารระดับสูง โดยจะมองแต่ประเด็นหลักๆ ที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอด/ประสบความสำเร็จขององค์กร โดย CSF จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละอุตสาหกรรม/ธุรกิจ โดยมีขั้นตอนการทำคือ สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงแต่ละราย >> นำสิ่งที่ได้มาวิเคราะห์หาสิ่งที่ต้องการในตัวระบบ >> ทำข้อตกลงร่วมกันในระดับองค์กร (Agreement) >> ระบุ CSFs >> จัดลำดับความสำคัญว่าระบบใดมีความสำคัญมาก-น้อย (Systems Priorities) และกำหนด Database ว่าควรมีอะไรบ้าง
ข้อดี ของโมเดลนี้คือ ใช้ข้อมูลน้อยกว่าโมเดล BSP, มองถึงด้านการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมด้วย ข้อเสีย คือ ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำแผนด้วย (เป็น Art forms), ยากต่อการวิเคราะห์ว่า CSF นั้นมันเป็นเพราะมุมมองของผู้บริหารระดับสูงโดยตำแหน่งหรือเป็นมุมมองส่วนบุคคล

สุวารี เลิศลักษณะโสภณ เลขทะเบียน 5302110019

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น